สุขภาพดีเพราะมี”โกรทฮอร์โมน” (Growth Hormone)

เคยได้ยินมานานเรือง “โกรทฮอร์โมน” แต่บางคนอาจยังไม่รู้ว่าถึงจะโตแล้วร่างกายก็ยังต้องการโกรทฮอร์โมนอยู่นะ เพราะเจ้าโกรทฮอร์โมนเนี่ยเป็นฮอร์โมนสำคัญที่ช่วยซ่อมแซมร่างกายของเรา และยังช่วยให้เราดูอ่อนเยาว์อีกด้วย วันนี้ Becoplus (บีโคพลัส) จะพามาทำความรู้จักกันให้มากขึ้นว่าทำไมโกรทฮอร์โมนจึงมีผลต่อสุขภาพ

ทำความรู้จักโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone)

มาทำความรู้จัก “โกรทฮอร์โมน” (Growth Hormone)

โกรทฮอร์โมน คือ ฮอร์โมนหลักที่ผลิตจากต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตและการทำงานของอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย การสร้างเซลล์ใหม่ การทำงานของระบบสมอง การทำงานของเอนไซม์ และกระตุ้นให้เกิดการสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโต

ทำไมโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone)จึงสำคัญ

ทำไม “โกรทฮอร์โมน” (Growth Hormone) จึงมีความสำคัญกับร่างกาย

โกรทฮอร์โมนนี้เป็นฮอร์โมนที่สำคัญโดยเฉพาะในวัยเด็ก เพราะช่วยในเรื่องของการเจริญเติบโตของกระดูกและร่างกายมากกว่าวัยไหน ๆ จนไปถึงช่วงอายุ 25 ปี ซึ่งหากร่างกายได้รับ โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ที่เหมาะสมก็จะทำให้คนคนนั้นมีรูปร่างที่สมส่วน เติบโตสมวัย มีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง ภูมิต้านทานดี ช่วยในเรื่องของพัฒนาการทางสมอง และช่วยคงความหนุ่มสาว

ซึ่งโกรทฮอร์โมนนั้นจะหลั่งออกมาไม่เท่ากันในแต่ละช่วงอายุ ช่วงวัยที่กำลังเจริญเติบโตหรือวัยเจริญพันธุ์จะมีการหลั่งในมากกว่าช่วงวัยอื่น และเมื่อพ้นวัย 30 ปีไปแล้วก็จะเริ่มลดน้อยลง หรือบางรายอาจจะไม่มีการหลั่งของโกรทฮอร์โมนออกมาเลยก็ได้ ทำให้ร่างกายเสียสมดุล การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายก็จะลดลง อ่อนแอลง และทำให้เกิดโรคต่าง ๆ 

หน้าที่ของโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone)

หน้าที่ของโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone)

  1. ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย
  2. ควบคุมการทำงานของอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย
  3. ดูแลเรื่องการสร้างเซลล์ใหม่ให้กับอวัยวะต่างๆ เมื่อสึกหรอและต้องการซ่อมแซมให้ฟื้นฟูกลับมาทำงานได้เหมือนปกติ
  4. ดูแลการสร้างเซลล์กระดูกอ่อน ทำให้กระดูกเจริญเติบโตได้ตามปกติ
  5. ควบคุมการทำงานของระบบสมอง และเสริมสร้างพัฒนาการของเซลล์สมอง
  6. ควบคุมการทำงานของเอ็นไซม์หลายชนิดในร่างกายให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ประโยชน์ของโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone)

ประโยชน์ของโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone)

  1. ช่วยลดไขมันและช่วยลดน้ำหนัก ช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ
  2. ช่วยให้ร่างกายซ่อมแซมตัวเองได้อย่างสมบูรณ์
  3. มีผลคล้ายยาแก้ซึมเศร้า (Antidepressant) และไม่มีผลข้างเคียง ช่วยลดความเครียด มีสมาธิมากขึ้น ฟื้นฟูความจำ และเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้
  4. ช่วยเพิ่มความสามารถทางด้านกล้ามเนื้อ ช่วยเสริมกล้ามเนื้อ และเพิ่มความคงทนในการออกกำลังกาย
  5. ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของผิว ช่วยให้ผิวเรียบเนียนขึ้นเหมือนดังผิวของคนหนุ่มสาว ทั้งยังช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ลดรอยเหี่ยวย่นบนผิวหน้าและตามร่างกาย ลดรอยตีนกา ช่วยฟื้นฟูให้กลับมาหนุ่มสาว
  6. มีผลช่วยต้านภาวะกระดูกพรุน และช่วยเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก
  7. ช่วยกระตุ้นการสูบฉีดเลือดของหัวใจ (Cardiac output) ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงขึ้น ออกกำลังกายได้มากขึ้น ลดภาวะความดันโลหิตสูง ปรับสมดุลของคอเลสเตอรอล ช่วยบรรเทาอาการของโรคหัวใจ
  8. ช่วยให้การหายของบาดแผลเร็วขึ้น เพราะไปช่วยกระตุ้นให้มีการสังเคราะห์คอลลาเจนซึ่งเป็นสารที่ช่วยฟื้นฟูบาดแผลสร้างเนื้อเยื่อให้ประสานกัน ทำให้เนื้อเยื่อจะแข็งแรงขึ้น ผิวหนังยืดหยุ่นได้ดีช่วยทำให้บาดแผลหายเร็วขึ้น อีกทั้งฟื้นฟูการยึดติดของกระดูกในผู้ป่วยกระดูกหัก ในผู้ป่วยบาดแผลจากไฟไหม้ขั้นรุนแรงและแผลจากการผ่าตัดได้ผลดี แผลหายเร็วขึ้น

โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone)ลดลงเป็นอย่างไร

เมื่อโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ลดน้อยลงจะเป็นอย่างไร

    • ผมเริ่มหงอก ร่วง หรือผมบางจนเกือบล้าน
    • อาจเกิดการสูญเสียความทรงจำระยะสั้นและระยะยาวไป
    • ผิวหนังจะขาดความยืดหยุ่น ไม่ชุ่มชื้น ผิวแห้งมีริ้วรอย 
    • เริ่มมีปัญหาสายตายาว อ่านหนังสือใกล้ ๆ จะโฟกัสไม่ได้ และเมื่ออายุเพิ่มขึ้นจะมีอาการสายตาจะฝ้าฟางขึ้นเรื่อย ๆ 
    • ระบบการเผาผลาญ การได้ยิน ความจำ กล้ามเนื้อ ฮอร์โมนต่าง ๆ เสื่อมถอยลงไป

ซึ่งมีหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการหลั่งโกรทฮอร์โมน เช่น เรื่องของอาหารการกิน ความเครียด การพักผ่อนนอนหลับ การออกกำลังกาย รวมถึงน้ำหนักตัวที่มากเกินไปหรือน้อยเกินไปก็ส่งผลต่อโกรทฮอร์โมนเช่นกัน

รักษาโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone)

การรักษาโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone)

    • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย ๆ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน
    • นอนในช่วงเวลา 22.00 น. – 05.00 น ซึ่งเป็นช่วงที่โกรท์ฮอร์โมนทำงาน
    • ลดการทานอาหารที่มีน้ำตาล ไขมัน และแป้งเยอะ รวมทั้งเลิกพฤติกรรมการทานอาหารสำเร็จรูป หรืออาหารแช่แข็ง
    • ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5-6 วัน วันละ 30 นาที
    • ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ และไม่สูบบุหรี่
    • ไม่ควรซื้อยาทานเอง หากมีอาการเจ็บป่วยให้ปรึกษาแพทย์เพราะยาเหล่านั้นคือเคมีที่จะเข้าไปทำลายตับและไตของเรา
    • หลีกเลี่ยงความเครียด และทำให้ตัวเองผ่อนคลายอยู่เสมอ จะช่วยให้โกรทฮอร์โมนทำงานได้ดีขึ้น

เพิ่มโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ด้วยการนอนที่ดี

เพิ่มโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ด้วยการนอนที่ดี

ช่วงที่ร่างกายจะหลั่งโกรทฮอร์โมนออกมามากที่สุดคือประมาณเที่ยงคืน-ตี 1 และต้องเป็นช่วงที่หลับลึกแล้วเท่านั้น ซึ่งร่ายการจะเริ่มเข้าสู่ภาวะหลับลึกหลังหลับไปแล้วประมาณ 1 ชม.ดังนั้นจึงควรเข้านอนไม่เกิน 5 ทุ่ม เพื่อให้พอดีกับช่วงที่ร่างกายหลั่งโกรทฮอร์โมน

อาหารเสริมบำรุงสมอง

และเสริมการนอนหลับให้ดียิ่งขึ้นด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Becoplus (บีโคพลัส) ที่ช่วยปรับสมดุลการนอน ทำให้นอนหลับได้สนิทและหลับได้ลึกขึ้น ส่งเสริมให้ร่างกายหลั่งโกรทฮอร์โมนได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยให้ผ่อนคลายความเครียดซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ร่างกายหลั่งโกรทฮอร์โมนน้อยลง

Becoplus ตัวช่วยให้คุณรู้สึกผ่อนคลาย นอนหลับเต็มอิ่มและตื่นอย่างสดชื่น

 

 

แชร์บทความนี้:

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความล่าสุด

สินค้าล่าสุด

thThai
LINE LOGO SVG สอบถาม