• บทความ
  • Becoplus
  • “คำต้องห้าม” สำหรับผู้ป่วย โรคซึมเศร้า

“คำต้องห้าม” สำหรับผู้ป่วย โรคซึมเศร้า

ซึมเศร้า

ใครจะคิดว่าวันหนึ่ง โรคซึมเศร้า จะใกล้ตัวเรากว่าที่คิด บางครั้งเราก็สงสัยว่าอาการที่เราเป็นอยู่จะเข้าข่ายของคนที่มีภาวะจะเป็นโรคซึมเศร้าอยู่หรือไม่ หรือคนที่เรารู้จักอยู่ดี ๆ ก็เดินมาบอกว่าเป็นโรคซึมเศร้าอยู่นะ หรือเราอาจจะเดินสวนกับคนที่เป็นโรคซึมเศร้าและเผลอพูดอะไรออกไปกระทบจิตใจเค้าอยู่ก็เป็นได้ โดยคนส่วนใหญ่ที่คิดว่าเป็นหรือมีอาการ มักจะเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อน เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีและรวดเร็วที่สุด โดยระหว่างที่รับการรักษาอยู่ ผู้ป่วยอาจจะต้องการกำลังใจจากคนใกล้ตัว แต่คำบางคำที่ดูเหมือนเป็นการให้กำลังใจกับผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้า จริง ๆ แล้วอาจจะเป็นคำที่ไม่ควรพูดกับเค้าเลยก็ได้ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าคำไหนบ้างที่ไม่ควรพูด วันนี้เรามีตัวอย่างของคำบางคำที่ไม่ควรพูดมาบอกต่อกันค่ะ ใครที่มีคนใกล้ชิดเป็นผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอยู่ ลองนำไปปรับใช้กันได้นะคะ

โรคซึมเศร้า คืออะไร

ซึมเศร้า

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ โรคซึมเศร้า กันก่อนดีกว่า โรคซึมเศร้า (Depression) เป็นความผิดปกติของการหลั่งสารเคมีในสมอง ที่ส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางอารมณ์ ทำให้พฤติกรรมของผู้ป่วยเปลี่ยนไปจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน กลายเป็นคนมองโลกในแง่ลบ เศร้า หม่นหมอง หดหู่ เก็บเนื้อเก็บตัว รู้สึกเบื่อหน่ายกับสิ่งที่เคยสนุกหรือสบายใจ ไม่มีความสุข มักเกิดกับบุคคลที่มีอาการเครียด มีความรู้สึกโดดเดี่ยว หรือสะสมความเครียดมาเป็นเวลานาน

ภาวะซึมเศร้าเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะคนในช่วงอายุ 20 – 30 ปี เพราะคนวัยนี้อยู่ในวัยที่ต้องมีความรับผิดชอบและแบกรับภาระหลาย ๆ อย่าง ปัจจุบันคนไทยเป็นโรคซึมเศร้ามากถึง 1.5 ล้านคน แต่ได้รับการรักษาเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น

จากการศึกษาทางการแพทย์ในปัจจุบันพบว่า โรคซึมเศร้าเกิดจากความไม่สมดุลของสารสื่อประสาทในสมอง 3 ชนิด ได้แก่ ซีโรโทนิน นอร์เอพิเนฟริน และโดปามีน ส่งผลกระทบต่ออารมณ์ ความคิดและพฤติกรรม ซึ่งจะต่างจากอารมณ์เศร้าตามปกติที่สามารถหายได้เองเมื่อความเครียดหมดไป

สาเหตุของ โรคซึมเศร้า

ซึมเศร้า

    • การทำงานของสมองที่ผิดปกติ

เนื่องจากสารสื่อประสาทในสมองที่ไม่สมดุลกัน โดยมีมากหรือน้อยเกินไป ซึ่งสาเหตุการเกิดโรคซึมเศร้านั้นซับซ้อนมากกว่าความผิดปกติของสารเคมีในสมอง โดยสันนิษฐานว่าเป็นการเชื่อมต่อ การเจริญเติบโตของเซลล์ประสาท และการทำงานของวงจรประสาทที่ส่งผลต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าด้วย  อีกทั้งปัจจัยด้านอื่นร่วม เช่น พันธุกรรม ลักษณะนิสัย การเผชิญเหตุการณ์ตึงเครียดหรือมีอาการเจ็บป่วย เป็นต้น

    • พันธุกรรม 

อาจมีการถ่ายทอดภาวะซึมเศร้าจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งได้ การทำงานของพันธุกรรมที่ผิดแปลกไป ทำให้ชีววิทยาในร่างกายเปลี่ยนไป นำไปสู่ภาวะไม่เสถียรทางอารมณ์ แต่การที่มีบรรพบุรุษเป็นโรคซึมเศร้าแล้ว ไม่จำเป็นที่จะถ่ายทอดมายังลูกหลานเสมอไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยข้ออื่น ๆ ด้วย

    • บุคลิกภาพและลักษณะนิสัยเฉพาะตัว

มีนักจิตวิทยาเคยกล่าวว่า ทัศนคติและมุมมองต่อโลกจะส่งผลต่อความรู้สึกของเรา ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่ผู้ที่มีความมั่นใจในตัวเองน้อย มีความวิตกกังวลง่าย อ่อนไหวต่อการวิจารณ์ และชอบตำหนิตัวเอง จะมีแนวโน้มเกิดภาวะซึมเศร้าได้ง่ายกว่า

    • เกิดเหตุการณ์ตึงเครียดในชีวิต 

เนื่องจากความสามารถในการรับมือกับปัญหาและความสูญเสียของแต่ละคนที่ไม่เท่ากัน โรคซึมเศร้าในหลายรายจึงเกิดขึ้นจากการเผชิญกับเหตุการณ์ในชีวิตที่ตึงเครียดหรืออยู่ในสภาวะย่ำแย่จนเกินจะรับมือไหว เช่น ความเศร้าจากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก การเผชิญความรุนแรง หรือถูกคุกคามทางเพศ โดยเฉพาะหากมีความเสี่ยงด้านพันธุกรรมที่เป็นตัวกำหนดลักษณะนิสัยในทางอ่อนไหวต่อสิ่งกระทบ ความเครียด สิ้นหวัง และความเศร้าจากการสูญเสียอยู่ด้วยแล้ว ก็มีโอกาสสูงที่จะพัฒนาไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้

    • อาการเจ็บป่วย โรคภัยต่าง ๆ

สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างอาการซึมเศร้าตามมาได้ โรคที่รู้จักกันดีว่าส่งผลต่อภาวะซึมเศร้าคือภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งผู้ป่วยจะมีระดับฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำเกิน จนทำให้เหนื่อยล้าและเข้าสู่ภาวะซึมเศร้าได้ และยังมีผู้ป่วยโรคเรื้อรังอีกมากมายที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้า เช่น โรคพาร์กินสัน อัลไซเมอร์ หลอดเลือดในสมองแตก เอสแอลอี เอดส์ มะเร็ง เบาหวาน เป็นต้น

    • การใช้ยารักษาโรคบางชนิด 

ผลข้างเคียงจากยาบางชนิดอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะซึมเศร้าได้ เช่น ยาจำพวกสเตียรอยด์ ยาระงับปวดจำพวกมอร์ฟีน ยาต้านไวรัสบางชนิด ดังนั้นหากมีอาการของภาวะซึมเศร้าหลังการใช้ยา ผู้ป่วยต้องแจ้งให้แพทย์ทราบเพื่อพิจารณาเปลี่ยนยาตัวใหม่หรือลดปริมาณเพื่อกำจัดผลข้างเคียงที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าต่อไป

อาการของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

ซึมเศร้า

ทำความรู้จักกับโรคซึมเศร้ากันไปแล้ว หลายคนคงอยากจะรู้แล้วว่า แบบไหนถึงเรียกว่าเป็นโรคซึมเศร้า ต้องมีอาการอย่างไร ให้เพื่อน ๆ ลองสังเกตอาการดังต่อไปนี้ค่ะ หากมีอย่างน้อย 5 อย่าง หรือมากกว่าติดต่อกันอย่างน้อย 14 วัน และมีอาการเหล่านี้อยู่เกือบทั้งวัน ทางการแพทย์จะถือว่าเข้าข่ายเป็นโรคซึมเศร้าได้

  1. มีอารมณ์ซึมเศร้า (เด็กหรือวัยรุ่นอาจมีอาการหงุดหงิด โกรธง่าย)
  2. เบื่อหน่ายง่าย หมดความสนใจหรือความสุขในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เคยชอบทำ
  3. นอนไม่หลับ หรือมีอาการหลับ ๆ ตื่น ๆ 
  4. เหนื่อยง่ายหรือไม่ค่อยมีแรง
  5. เบื่ออาหารหรือกินมากเกินไป
  6. รู้สึกไร้ค่า รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง
  7. ไม่มีสมาธิหรือลังเลใจไปหมด
  8. พูดช้า ทำอะไรช้าลงหรือกระวนกระวาย ไม่อยู่นิ่ง
  9. มีความคิดอยากตาย อยากฆ่าตัวตาย หรือคิดอยากทำร้ายตัวเอง

รักษาอย่างไรให้ถูกวิธี

ซึมเศร้า

เมื่อเรารู้ตัวแล้วว่ามีอาการเข้าข่ายที่จะเป็นโรคซึมเศร้า ขั้นตอนต่อไป คือการรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธีและให้รวดเร็วที่สุด โดยการรักษาจะแบ่งออกเป็น 4 แบบด้วยกัน ดังนี้

  1. การรักษาด้วยยา (Pharmacological treatment)

ถือเป็นการรักษาวิธีหลัก โดยยารักษาอาการซึมเศร้าจะไปช่วยปรับสารสื่อประสาทในสมองให้กลับสู่สมดุล ส่วนระยะเวลาในการรักษาสำหรับผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าครั้งแรกโดยส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 9 – 12 เดือน แล้วแต่ระดับความรุนแรงของโรค

  1. การรักษาด้วยจิตบำบัด (Psychotherapy)

เป็นการรักษาที่มักใช้ควบคู่ไปกับการรักษาด้วยยา ซึ่งการทำจิตบำบัดมีหลายวิธี เช่น การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม, การบำบัดแบบประคับประคอง เป็นต้น

การศึกษาในปัจจุบันพบว่าการรักษาด้วยยาควบคู่ไปกับการทำจิตบำบัดเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุดในการรักษา

  1. การรักษาด้วยอุปกรณ์ปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Transcranial magnetic stimulation; TMS)

เป็นการรักษาโดยใช้อุปกรณ์ที่สามารถปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านหนังศีรษะ เพื่อสร้างสนามแม่เหล็กเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไฟฟ้ากระตุ้นเซลล์สมอง ส่วนใหญ่มักใช้ในผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาไม่ได้ผล หรือมีข้อห้ามในการให้ยารักษา

  1. การรักษาด้วยไฟฟ้า (Electroconvulsive therapy)

ใช้ในผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา หรือมีอาการรุนแรงมากเฉียบพลัน หรือมีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสูง

คำต้องห้าม ของผู้ป่วย โรคซึมเศร้า

ซึมเศร้า

มาถึงตรงนี้เพื่อน ๆ คงมีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้ากันมากชึ้นแล้ว ทั้งสาเหตุของโรค อาการและการรักษา แต่ยังมีรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ อีกหนึ่งอย่างที่บอกเลยว่าไม่ควรมองข้าม นั้นก็คือคำพูดที่จะใช้กับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า 

หากคุณมีคนใกล้ชิดที่เป็นผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอยู่ อย่าละเลยเรื่องคำพูดเด็ดขาด คำที่เราพูดไปแบบไม่ตั้งใจ หรือคิดว่าเป็นคำพูดที่ดีแล้ว อาจจะกำลังทำร้ายเค้ายอยู่ก็ได้ วันนี้เรามีตัวอย่างของคำบางคำที่ไม่ควรพูดมาบอกต่อกันค่ะ 

  1. สู้ สู้ หรือ สู้ต่อไป

เชื่อเลยว่าคำนี้เป็นคำพูดที่ติดปากใครหลาย ๆ คน ดูเป็นคำพูดให้กำลังใจ ด้านบวก แต่เมื่อเราใช้กับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า จะทำให้เขารู้สึกว่า เราไม่เข้าใจความรู้สึกเขา และเขาจะรู้สึกว่าถึงตอนนี้เขายังสู้ไม่พออีกหรือ แล้วจะต้องให้สู้ไปถึงไหนกัน ลองปรับคำพูดจากสู้ สู้ เป็นคำว่าเราเป็นกำลังใจให้นะ หรือเราอยู่ข้าง ๆ เธอเสมอนะแทนดูนะคะ

  1. ร้องไห้ทำไม

คำถามที่ว่าร้องไห้ทำไม สำหรับผู้ป่วยโรคซึมเป็นคำถามที่ทำให้รู้สึกว่า คนพูดกำลังรู้สึกรำคาญหรือเบื่อเขาที่เห็นเขาร้องไห้ เห็นเขาอ่อนแอ ลองใช้คำว่าไม่เป็นไรนะ ไม่ร้องไห้นะ หรือเราจะคอยเป็นที่ปรึกษาและรับฟังเธอเอง จะดูมีความเป็นห่วงและจริงใจกับผู้ป่วยมากกว่า

  1. เรื่องแค่นี้เอง เศร้าทำไม

คำพูดที่ใครหลายคนเชื่อว่าคือคำปลอบใจที่ดีแล้ว แต่สำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าคำพูดนี้จะทำให้ผู้ฟังหรือผู้ที่มีอาการซึมเศร้ารู้สึกว่า เราไม่เข้าใจความรู้สึกเขา ทำให้เขาคิดว่าเรื่องราวของเขา ปัญหาของเขาเป็นเรื่องไร้สาระและน่ารำคาญของเรา และทำให้ผู้ป่วยรู้สึกน้อยใจ และเศร้าใจมากกว่าเดิม ผู้พูดอาจลองเปลี่ยนเป็นคำว่า มีอะไรให้เราช่วยไหม หรือมีอะไรเล่าให้เราฟังได้นะ จะดีกว่าค่ะ

  1. เลิกคิด เดี๋ยวก็หาย

คำว่าเลิกคิด ในมุมมองของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอาจฟังดูเหมือนเป็นคำสั่งที่บอกให้พวกเค้าห้ามคิด หยุดคิด ลองเปลี่ยนเป็นการแนะนำให้เค้าเปลี่ยนไปคิดเรื่องอื่น คิดเรื่องที่ทำให้รู้สึกสบายใจ หรือมีความสุขแทนดีกว่าค่ะ

  1. เดี๋ยวมันก็ผ่านไป

ถือเป็นคำพูดที่ใช้พูดปลอบใจเวลาที่ใครรู้สึกผิดหวังหรือเสียใจเป็นอันดัต้น ๆ เลยก็ว่าได้ แต่แน่นอนว่าเราไม่ควรพูดคำนี้กับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้รู้สึกว่า เค้าต้องการคนที่เข้าใจ คนปลอบใจ ไม่ใช่ปล่อยผ่าน แล้วรอให้หายเอง เพราะผู้ที่มีภาวะซึมเศร้ามุกจะไม่สามารถจัดการกับความรู้สึกของตัวเองได้ หรือจัดการได้ไม่ดีเท่าที่ควร ผู้พูดอาจจะใช้คำว่า เราจะผ่านมันไปด้วยกัน หรือเราจะช่วยให้เธอผ่านมันไปได้เองนะ

อาหารเสริมบำรุงสมอง

ปัจจุบันการเลือกทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสักตัว คนส่วนใหญ่คงไม่ได้ดูแค่ยี่ห้อหรือว่าได้มาตรฐานหรือไม่ แต่ยังดูไปถึงคุณสมบัติของส่วนผสมที่ใส่ลงมาด้วย โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ช่วยบำรุงสมองและระบบประสาทที่ควรจะต้องได้มาตรฐานรวมถึงต้องเป็นสมุนไพรหรือสารสกัดจากธรรมชาติ ไม่มีสารเคมีเจือปน เพื่อให้มั่นใจว่าเราได้เลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตัวเราแล้ว อย่างผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Becoplus (บีโคพลัส) ที่มั่นใจได้ด้วยการรับรองมาตรฐานอย. ตัวแคปซูลผลิตจากพืช และสารสกัดธรรมชาติกว่า 11 ชนิดที่อัดแน่นไปด้วยคุณประโยชน์และมีงานวิจัยรองรับมากมาย Becoplus เหมาะกับผู้ที่ทำงานหนัก ใช้สมองเยอะ เพราะเค้าช่วยบำรุงสมอง ปรับสมดุลการนอนหลับ ให้เราได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ ทำให้สมองผ่อนคลาย ช่วยคลายกังวลซึ่งเป็น 1 สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้อีกด้วย

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติม หรือติดตามเราได้ที่ Facebook Fan page : Becoplus

แชร์บทความนี้:

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความล่าสุด

สินค้าล่าสุด

thThai
LINE LOGO SVG สอบถาม