• บทความ
  • Becoplus
  • 5 อันตราย จาก “แสงสีฟ้า” ต่อร่างกายและสมอง

5 อันตราย จาก “แสงสีฟ้า” ต่อร่างกายและสมอง

อันตรายจากแสงสีฟ้า

“แสงสีฟ้า” คืออะไร ทำไมถึงอันตรายกว่าที่คิด

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในปัจจุบัน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ หรือแม้กระทั่งโทรทัศน์ เปรียบเสมือนอวัยวะสำคัญของผู้คนในยุคนี้ แต่อย่าลืมว่าเมื่ออุปกรณ์แต่ละชนิดมีข้อดี ก็ย่อมมีข้อเสียตามมาเช่นกัน ในบทความนี้เราจึงขอยกเรื่องของอันตรายที่เกิดจาก “แสงสีฟ้า” พูดถึงกัน

แสงสีฟ้า หรือ Blue Light คือ คลื่นพลังงานแสงสีฟ้าธรรมชาติที่แตกแยกออกมาจากรังสียูวี (Ultra violet) ธรรมชาติที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และแสงสีฟ้าสามารถหาเจอได้จากสิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเองอีกด้วย โดยจะส่งผลให้จอประสาทตาเสื่อม เพราะแสงสีฟ้าสามารถทะลุเข้าไปทำลายเซลล์รับแสงในจอประสาทตาได้ รวมถึงในเด็ก ก็ส่งผลต่อพัฒนาการการมองเห็น หากได้รับแสงสีฟ้าในปริมาณมาก

รู้จักแหล่งที่มาของ “แสงสีฟ้า”

    • แสงสีฟ้าจากแหล่งธรรมชาติ

นอกจากแสงสีฟ้าจะหาได้จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว ยังสามารถหาต้นกำเนิดแสงสีฟ้าได้จากธรรมชาติอีกด้วย เช่น แสงดวงอาทิตย์ที่ผ่านชั้นบรรยากาศ มีพลังงานสูงแต่ระยะของคลื่นสั้น จึงเกิดการปะทะระหว่างโมเลกุลของน้ำและอากาศจนกระจายฟุ้งออกทั่วท้องฟ้าในยามกลางวัน จึงทำให้ผู้คนมองเห็นท้องฟ้าเป็นสีฟ้านั้นเอง

    • แสงสีฟ้าจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

แสงสีฟ้าที่เกิดจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิดที่มนุษย์สร้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์จอสัมผัสอย่าง สมาร์ทโฟน อุปกรณ์ทัชสกีนรูปแบบต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งหลอดไฟฟ้า ซึ่งความเข้มของแสงสีฟ้าแต่ละอุปกรณ์จะมีปริมาณความหนาแน่นแตกต่างกันออกไป

5 อันตราย จากแสงสีฟ้าต่อร่างกายและสมอง

อันตรายจากแสงสีฟ้าต่อดวงตา เป็นสิ่งที่หลายคนอาจทราบกันอยู่แล้ว แต่รู้หรือไม่ว่าแสงสีฟ้ายังส่งผลต่อร่างกาย สมองและความจำอีกด้วย มาดูกันว่าอันตรายที่ว่ามานั้นมีอะไรบ้าง

อันตรายจากแสงสีฟ้า

    • ส่งผลกระทบต่อการนอนหลับ และความจำ

ผลกระทบต่อการนอนหลับ (Insomnia) การได้รับคลื่นพลังงานแสงสีฟ้ามากเกินไป มีผลต่อ นาฬิกาชีวิต (Circadian rhythm) ที่ทำให้ร่างกายทำงานเป็นปกติ  ช่วยให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนออกมา ทำให้กระฉับกระเฉง รู้เวลานอน รู้เวลาตื่น แต่หากได้รับแสงสีฟ้าจากหน้าจอในเวลากลางคืนช่วงระยะเวลาหนึ่ง ระบบนี้จะถูกรบกวนส่งผลให้มีอาการนอนไม่หลับ ตื่นลำบาก จนรู้สึกว่าร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ และอาจส่งผลกระทบกับงานหรือชีวิตประจำวันได้ แสงสีฟ้าจากหน้าจอทำให้ต่อมไพเนียล(Pineal gland) ที่สร้างฮอรโมนเมลาโทนิน (Melatonin) จากสมองน้อยลง สร้างผลกระทบให้ผู้ป่วยนอนไม่หลับ และหลับไม่สนิท

อันตรายจากแสงสีฟ้า

    • ทำให้ตื่นสาย และมีอาการทางระบบประสาท

ขี้หลงขี้ลืม เพราะนอนไม่พอสมองก็ไม่ได้พักผ่อนอย่างเต็มอิ่ม ประสิทธิภาพการทำงานและการจดจำของสมองก็จะเสื่อมลง เห็นได้ชัดในวันรุ่งขึ้นเลย

เรียนรู้ช้าลง เมื่อสมองไม่ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ แล้วจะเอาแรงที่ไหนมาบันทึกข้อมูลที่คุณเรียนรู้และควรต้องจดจำกันล่ะ

เครียด หากปล่อยให้แสงสีฟ้ามายับยั้งการผลิตฮอร์โมนเมลาโทนินจนเสียระบบไปหมด อาจทำให้เกิดภาวะเครียดได้ เนื่องจากพอนอนไม่พอก็จะรู้สึกหงุดหงิด พอหงุดหงิดบ่อย ๆ เข้าโลกก็หม่นหมอง ไม่มีความสุข

อันตรายจากแสงสีฟ้า

    • ส่งผลต่อฮอร์โมนควบคุมความหิว นำไปสู่ภาวะโรคอ้วน

เมื่อร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ จะทำให้เรามีความอยากอาหารมากขึ้น โดยที่สมองจะสั่งให้เราอยากกินแต่อาหารที่มีแคลอรีสูงเพื่อนำมาใช้เผาผลาญเป็นพลังงานแก่ร่างกาย เราจึงมีแนวโน้มน้ำหนักตัวขึ้นง่ายจากอาหารที่มีแคลอรีสูงเหล่านี้นั่นเอง

อันตรายจากแสงสีฟ้า

ภาวะซึมเศร้าและอัลไซเมอร์ สืบเนื่องมาจากวัฏจักรการตื่นนอนที่เปลี่ยนแปลงไป การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอติดต่อกันเป็นระยะเวลานานนั้นสามารถก่อให้เกิดภาวะเครียดและซึมเศร้าได้ไม่ยาก รวมถึงส่งผลต่อระบบประสาทและสมอง และความจำก็ถดถอยลงด้วย

อันตรายจากแสงสีฟ้า

    • เร่งให้จอประสาทตาเสื่อมเร็วขึ้น

จอประสาทตาอาจเสื่อม เนื่องจากแสงสีฟ้าสามารถทะลุเข้าไปและทำลายเซลล์รับแสงในจอตา อาจทำให้การมองเห็นส่วนกลางแย่ลงได้ แต่ยังมีเพียงการศึกษาในสัตว์ทดลองและในห้องปฏิบัติการที่พบการถูกทำลายของเซลล์รับแสงในจอตา ยังไม่ยืนยันแน่นอนว่าเป็นสาเหตุของโรคจอตาเสื่อมในผู้สูงอายุ (Age – Related Macular Degeneration)

เมื่อยล้า ปวดตา แสบตา เคืองตา น้ำตาไหล ตาพร่ามัว มักเป็นในคนที่ทำงานหรือใช้หน้าจอเป็นเวลานาน หรือรวมเรียกกลุ่มอาการนี้ว่า Computer Vision Syndrome ซึ่งอาจเกิดจากดวงตาได้รับแสงสีฟ้าจากหน้าจออย่างต่อเนื่อง คลื่นแสงที่มีพลังงานสูง อาจทำลายเซลล์ผิวกระจกตาและเยื่อบุตา บวกกับการสั่นกระพริบของหน้าจอ ส่งผลให้กล้ามเนื้อลูกตาทำงานหนักมากขึ้นในการปรับโฟกัสภาพ การที่แสงจากหน้าจอที่ไม่พอเหมาะและความไม่คมชัดของตัวอักษรบนหน้าจอ ทำให้ต้องเพ่งมากขึ้นและกะพริบตาน้อยลง ทำให้เกิดอาการตาแห้ง 

วิธีป้องกัน “แสงสีฟ้า” จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

    • ใช้หลักการ 20/20/20
      เวลาใช้มือถือ หรือ คอมพิวเตอร์นาน ๆ ควรพักทุก 20 นาที มองสิ่งของรอบตัวที่อยู่หางประมาณ 20 ฟุต เป็นระยะเวลา 20 วินาที จะช่วยให้ลดความล้าของดวงตาลงได้ ก่อนที่จะกลับไปใช้อุปกรณ์ดิจิตัลอีกครั้ง
    • ใช้น้ำตาเทียม
      ทำให้ดวงตาไม่แห้งด้วยการหยอดน้ำตาเทียมในทุก 2 ชั่วโมง ไม่ลืมที่จะกะพริบตาบ่อย ๆ ในขณะที่ใช้มือถือ หรือ คอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน
    • ปรับแสงสีฟ้าบนโทรศัพท์
      เราสามารถลดความเสี่ยงของอาการตาล้า และ ปัญหาการนอนหลับด้วยการตั้งโทรศัพท์เป็นโหมดกลางคืน (night mode) เพื่อลดแสงสีน้ำเงินบนหน้าจอ
    • ใช้ฟิล์มกรองแสงสีฟ้า
      ติดฟิล์มลดแสง หรือ ฟิล์มกรองแสงสีฟ้าบนหน้าจออิเล็กทรอนิกส์เพื่อลดแสงสีฟ้าที่อาจมากระทบดวงตา
    • ใช้แว่นกรองแสง
      ใช้แว่นถนอมสายตาเพื่อลดแสงสีฟ้าในขณะใช้อุปกรณ์ดิจิตัล หรือ ในช่วงที่ต้องทำงานหน้าจอเป็นระยะเวลานาน เพื่อให้รู้สึกสบายตาในขณะทำงานยิ่งขึ้น

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร “Becoplus” ช่วยให้คุณนอนหลับสนิทตลอดคืน ไม่ตื่นกลางดึก

อาหารเสริมบำรุงสมอง

Becoplus อาหารเสริมเพิ่มพลังสมองที่ดูแลคุณและครอบครัว ทั้งวัยรุ่นวัยเรียน วัยทำงาน จนถึงผู้สูงวัย ช่วยเรื่องการนอนหลับ บำรุงสมอง  บำรุงระบบประสาท ช่วยเสริมความจำและสมาธิ ด้วยสารสกัดจากธรรมชาติแท้ 100% ที่เราคัดสรรมาเพื่อคุณ

    • สารสกัดจากพรมมิ : เสริมความจำ เพิ่มสมาธิและการตื่นตัว
    • ใบแปะก๊วย : บำรุงสมอง ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์ และช่วยให้สมองได้ทำงานเต็มประสิทธิภาพ
    • ผงเชอร์รี่ทาร์ต : ช่วยปรับสมดุลการนอน ทำให้หลับสบายลดความเครียด ช่วยบำรุงผิวพรรณและชะลอความเสื่อมของผิวหนัง
    • เก๋ากี้ : บำรุงสายตา ลดระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันไขมันพอกตับแถมเป็นยาอายุวัฒนะ
แชร์บทความนี้:

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความล่าสุด

สินค้าล่าสุด

thThai
LINE LOGO SVG สอบถาม